ควรพาผู้สูงอายุ ซึ่งป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ไปพบแพทย์เมื่อใด

ในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถสื่อสารกับผู้ดูแล หรือลูกหลานได้ จึงควรสังเกตอาการของผู้ป่วย หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

มีไข้ขึ้นสูงเกิน 37 องศา ติดต่อกัน 2-3 วัน หรือร่วมกับการหอบเหนื่อย หากการหายใจของผู้ป่วยมากกว่า 25 ครั้งต่อนาที

มีการชัก ปากเบี้ยว มีอาการปวด ปวดศีรษะ ซึมลง หมดสติ 

มีอาการบวม แดง ร้อนที่แขนหรือขา อาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมก็ได้

การขับถ่ายมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ถ่ายบ่อยต่อวัน ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ่ายมีมูกเลือด ถ่ายเป็นสีดำคล้ายถ่าน หรือท้องผูก

ปัสสาวะไม่ออก สีเข้ม หรือจำนวนปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีเลือดปน

ความดันโลหิตสูงหรือต่ำกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน

ผู้ป่วยมีอาการซึมลง หลับมาก เหมือนอ่อนเพลีย แขนขาอ่อนแรงหรือกระตุก

กรณีผู้ป่วยใส่ท่อหายใจที่คอ ลักษณะของท่อผิดปกติ ใส่ไม่ลง ติดขัด

เสมหะเหนียวข้นหรือมีเลือดปน หายใจหอบถี่

ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับ เริ่มมีอาการเรื้อรัง และแผลใหญ่ขึ้น

อาเจียนติดต่อกันหลายวัน มีเลือดปน

มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่ง โดยหาสาเหตุไม่ได้

ฉุนเฉียว พูดคนเดียว จำคนคุ้นเคยไม่ได้ สับสนเรื่องสถานที่ บุคคล เวลา ไม่ยอมหลับ นอน

 

แหล่งข้อมูล

หนังสือแนวทางการดูแลผู้สูงอายุซึ่งป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ สำหรับประชาชนทั่วไปโดย รศ. นท. ดร. นพ.สรยุทธ ชำนาญเวช ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล