“ปอดอักเสบ ป้องกันได้ด้วยการ ฉีดวัคซีน”
Package วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ ที่โรงพยาบาลศิริน
*** 2,800 บาท ***
สามารถติดต่อนัดคิวฉีดก่อนเข้ารับบริการทุกครั้งให้บริการ จ-ศ 08.00-18.00 น.
โรคปอดอักเสบคืออะไร?
โรคปอดอักเสบหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าโรคปอดบวม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ “สเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี” (Streptococcus pneumoniae) หรือเรียกกันว่าเชื้อนิวโมคอคคัส เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสละอองฝอยจากการไอหรือการจาม มักพบโรคนี้ได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ทุกคนมีโอกาสติดเชื้อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ติดเชื้อทางเดินหายใจอยู่ก่อนสามารถติดเชื้อนี้ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวยังนำไปสู่การเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดได้อีกด้วย
โรคปอดอักเสบสามารถป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีนป้องกันโรค ทั้งนี้เนื่องจากโรคปอดอักเสบสามารถทำให้เกิดภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด อาจทำให้ถูกเข้าใจผิดเป็นวัคซีนป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งแท้จริงแล้ววัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสนั้น เรียกว่า “วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ”
อาการของโรคปอดอักเสบ มีอะไรบ้าง?
อาการของโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ได้แก่
- ไอมีเสมหะ
- เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
- หายใจเร็ว หายใจหอบ หายใจลำบาก
- มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น
- คลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเสีย
- อ่อนเพลีย
- ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม ความรู้สึกสับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
- เด็กเล็กอาจมีอาการท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ
ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ อายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
ใครบ้างมีความเสี่ยงในการติดโรคปอดอักเสบ?
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
- เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะเลือดจางโดยกำเนิด โรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคตับแข็งเป็นต้น
- ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำหรือเป็นโรคหอบหืดเรื้อรัง
ท่านสามารถป้องกันโรคปอดอักเสบได้อย่างไร?
โรคปอดอักเสบสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ การเข้ารับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคปอดอักเสบก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้มีความเสี่ยงในการติดโรคดังกล่าว ท่านสามารถเข้ามารับคำปรึกษาและรับวัคซีนจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาล
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบในประเทศไทย มีกี่ชนิด?
ในประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบอยู่ 2 ชนิด ไม่แนะนำให้ฉีดพร้อมกัน โดยสามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสได้ต่างกัน ได้แก่
1. วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสได้ 13 ชนิด (PCV 13)
2. วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์ ป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสได้ 23 ชนิด (PPSV 23)
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบในผู้ใหญ่ ต้องฉีดทั้งหมดกี่เข็ม?
วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบในผู้ใหญ่ มีจำนวนครั้งในการเข้ารับวัคซีนที่แตกต่างกันตามอายุของผู้รับวัคซีน ดังนี้
อายุที่เริ่มฉีด |
ชนิดวัคซีน |
จำนวนครั้งที่ฉีด |
ช่วงอายุที่ฉีด |
||
เข็มที่ 1 |
เข็มที่ 2 |
||||
19-64 ปี(ผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง) |
PCV 13 |
1 เข็ม |
วันที่ต้องการฉีด |
- |
|
PPSV 23 |
1 เข็ม |
- |
8 สัปดาห์ หลังจาก PCV 13 |
||
65 ปีขึ้นไป |
กรณีที่ 1 |
PCV 13 |
1 เข็ม |
วันที่ต้องการฉีด |
|
PPSV 23 |
1 เข็ม |
- |
1 ปี หลังจาก PCV 13 ในคนปกติ หรือ 8 สัปดาห์ ในผู้ที่มีความเสี่ยง |
||
|
กรณีที่ 2 |
PPSV 23 |
1 เข็ม |
วันที่ต้องการฉีด |
|
PCV 13 |
1 เข็ม |
- |
อย่างน้อย 1 ปี หลังจาก PPSV 23 |
หมายเหตุ:
- หากเคยได้รับ PCV 13 เมื่ออายุน้อยกว่า 65 ปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องได้ซ้ำสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
- วัคซีนนิวโมนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPSV 23) อาจลดการตอบสนองต่อวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด แนะนำให้ได้รับวัคซีน 2 ชนิด นี้ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
อาการข้างเคียงที่อาจพบได้หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบมีอะไรบ้าง?
อาการข้างเคียงโดยทั่วไปมักเป็นอาการเฉพาะที่ เช่น ปวดบวมบริเวณที่ฉีด ซึ่งมักไม่รุนแรงและหายได้เองใน 2-3 วัน หากเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง อาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น มีไข้สูง หายใจไม่สะดวก เสียงแหบหรือหายใจมีเสียงดัง ลมพิษ อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ เป็นต้น ควรแจ้งแพทย์หรือนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที
ควรทำอย่างไร หากไม่สามารถมารับวัคซีนตามกำหนดนัด?
ควรปรึกษาแพทย์กรณีไม่สามารถมาฉีดวัคซีนนี้ตามกำหนดหรือเลยกำหนดออกไป โดยทั่วไปกรณีลืมตั้งแต่เข็มที่ 2 สามารถฉีดต่อได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ สิ่งสำคัญคือท่านควรมารับวัคซีนให้ครบตามขนาดที่แนะนำเพื่อประสิทธิผลในการ ป้องกันโรคของวัคซีน
หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง ติดต่อสอบถาม ศิรินได้เลยนะคะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
▶️ FB : Serene Hospital Thailand
▶️ IG : serenehospitalthailand
▶️ Line@ : @serenehospital https://lin.ee/vDxJTdM
▶️ Website : www.serenehospitalthailand.com
📍 พิกัด : ซอย กรุงเทพกรีฑา 8 แยก 16 แขวง หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
📱 : 063-992-6315 ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า