ดูแลใจอย่างไร
ในช่วงไวรัส COVID-19
วันที่ 31 มกราคม นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสถานการณ์ในขณะนี้เกี่ยวกับการ
พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ไวรัสปอดอักเสบอู่ฮั่น ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดมาจาก
ประเทศจีน จนกระทั่งเข้ามาในประเทศไทยและอีกบางประเทศ ซึ่งมีข่าวเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ มากมายหลาก
หลายช่องทาง ทั้งข่าวจริง ข่าวปลอม ข่าวลือ โดยเฉพาะในช่องทางโซเชียลมีเดีย ทำให้ดูเสมือนว่า
สถานการณ์เริ่มทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความสับสน อลหม่าน ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก ตกใจ
ตามมาด้วยความกลัว เครียด และวิตกกังวล กรมสุขภาพจิต จึงขอแนะนำวิธีการดูแลใจอย่างไรในช่วงไวรัส
COVID-19 เพื่อใช้ในการปรับตัว ช่วงภาวะวิกฤต เพื่อเราจะได้อยู่อย่างตระหนัก ไม่ตื่นตระหนก หากเรามี
ความตระหนก จะทำให้ขาดสติ ไม่สามารถจัดการอะไรได้ แต่ถ้าเรามีสติ จะทำให้เราเกิดความตระหนักใน
การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ รวมทั้งสามารถป้องกันตัวเองและสามารถ
แนะนำต่อผู้อื่นได้
COVID-19 กำลังทำลายสุขภาพจิตของผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรควิตกกังวลหรือย้ำคิดย้ำ
ทำอยู่ก่อนแล้ว เราจะดูแลสุขภาพจิตของเราอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้องค์การอนามัยโลกได้
เผยแพร่คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสภาพจิตใจในช่วงการระบาดของโควิด 19 ซึ่งได้รับการแชร์ต่ออย่างกว้าง
ขวางในโซเชียลมีเดีย
เจ้าหน้าที่จากองค์กรการกุศลที่ให้ความช่วยเหลือผู้มีอาการวิตกกังวลในสหราชอาณาจักร อธิบายว่าผู้ที่มี
อาการวิตกกังวลมักมีความหวาดกลัวต่อสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ และไม่สามารถรับมือกับภาวะที่เต็มไป
ด้วยความไม่แน่นอนได้
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า เพราะเหตุใดผู้ที่มีอาการวิตกกังวลเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงได้รับผลกระทบมาก
กว่าคนอื่น ๆ ในช่วงเวลานี้
"ความกังวลของคนเรามักมีที่มาจากความไม่รู้และอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องรอดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป
ซึ่งไวรัส COVID-19 เป็นบ่อเกิดมหึมาของความกังวลที่ว่านี้"
ดังนั้นมาดูวิธีการดูแลใจอย่างไร ในช่วงไวรัส COVID-19
* ลดชั่วโมงการใช้ Social Media
* เชื่อถือข้อมูลจาก แหล่งที่เชื่อถือได้ไม่ส่งต่อหรือแชร์ ข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ
* หากิจกรรมทำตามปกติ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง
* ทานอาหารดีมีปรโยชน์ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานในร่างกาย
* ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
* นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
* ฝึกผ่อนคลายความเครียด เช่น การฝึกลมหายใจ นั่งสมาธิ สวดมนต์
* หมั่นล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำยาล้างมือ และด้วยเจลแอลกอฮอล์
และโรงพยาบาลศิริน วิธีดูแลสุขภาพจิตของคุณในช่วงนี้
* การจำกัดเวลาการรับข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหรือการดูให้น้อยลงจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น คุณอาจ
กำหนดเวลาให้ชัดเจนว่าจะเช็คข่าวสารเวลาไหน นานเท่าไหร่ในแต่ละวัน
* ช่วงนี้มีข้อมูลข่าวสารมากมายที่หลั่งไหลมาถึงคุณ สิ่งที่ควรทำก็คือเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข่าว
ที่เชื่อถือได้เท่านั้น เช่น หน่วยงานรัฐบาลหรือหน่วยงานด้านสาธารณสุข
* ลบคีย์เวิร์ดที่ตั้งค่าไว้สำหรับการติดตามข่าวสารบนทวิตเตอร์เพื่อลดปริมาณข่าวสารที่แจ้งเตือน เลิกติดตาม
หรือระงับการแจ้งเตือนบัญชีผู้ใช้งานบางบัญชี
* ปิดการแจ้งเตือนข้อความเข้าในแอปพลิเคชันสนทนา เช่น วอทสแอป และตั้งค่าซ่อนข้อความบนเฟซบุ๊ก
ที่คุณคิดว่าทำให้คุณเครียดเกินไป
หากเกิดความวิตกกังวลหรือความเครียด ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต แนะนำให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
* ตระหนักรู้ : สังเกตและรับรู้ถึงการก่อตัวของภาวะจิตใจที่ไม่มั่นคงของตัวเอง
* หยุด : ไม่ต้องขัดขืนหรือทำอะไรทั้งสิ้น แค่หยุดนิ่งแล้วหายใจลึก ๆ
* ดึงตัวเองกลับมา : บอกตัวเองว่านี่เป็นแค่ความกังวลที่เราสร้างขึ้น และการแสวงหาความแน่นอนหรือคำตอบ
ที่ชัดเจนนั้นไม่มีประโยชน์และไม่จำเป็น มันเป็นแค่ความคิดและความรู้สึกชั่ววูบ อย่าเชื่อทุกอย่างที่คุณคิด เพราะ
ความคิดไม่ใช่คำยืนยันหรือข้อเท็จจริง
* ปล่อยมันไป : ปล่อยความคิดหรือความรู้สึกกังวลนั้นให้ผ่านไป ถ้าเราปล่อย มันก็จะผ่านไปเอง ไม่ต้องไปตอบ
โต้กับมัน ลองนึกภาพให้เจ้าความกังวลนี้ลอยหายเข้ากลีบเมฆไปเลย
* สำรวจ : อยู่กับปัจจุบัน เฝ้าดูลมหายใจของตัวเอง สังเกตพื้นที่คุณยืนอยู่ มองไปรอบ ๆ ตัวซิว่าคุณเห็นอะไร
ได้ยินอะไรหรือสัมผัสอะไรหรือได้กลิ่นอะไรบ้าง จากนั้นค่อย ๆ เปลี่ยนความสนใจกลับมาสู่สิ่งที่คุณต้องทำต่อไป
หรือสิ่งที่คุณทำค้างอยู่ก่อนที่ความวิตกกังวลจะเข้ามาเล่นงาน
หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง ติดต่อสอบถาม ศิรินได้เลยนะคะ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
▶️ FB : Serene Hospital Thailand
▶️ IG : serenehospitalthailand
▶️ Line@ : @serenehospital
▶️ Website : www.serenehospitalthailand.com
📍 พิกัด : ซอย กรุงเทพกรีฑา 8 แยก 16 แขวง หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
📱 063-992-6315 ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า